โครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
1.   โครงงานเรื่อง ท่าเทียบเรือตำมะลังแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน
2.   ชื่อผู้เสนอโครงงาน
2.1.   นายอิทธิกร  อินทองแก้ว       เลขที่ 6      ม.6/5                                                                                                       
2.2.   นางสาว สุวณี  สินนุเคราะห์  เลขที่  24  ม.6/5                                                                                                         
2.3.   นางสาวสิริภรณ์  เส็นทอง      เลขที่ 34   ม.6/5                                                                                                        
3.    ครูที่ปรึกษาโครงงาน  คุณครูเชษฐา  เถาวัลย์  และคุณครูโสภิตา  สังฆะโณ                                                
4.    หลักการและเหตุผล
      ป่าชายเลนสถานที่ที่ธรรมชาติสร้างขึ้น เป็นทั้งที่อยู่อาศัย กำแพงชะลอน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่น่าสนใจอีกที่หนึ่ง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรจะช่วยกันอนุรักษ์ป่าชายเลนไว้เช่นเดียวกับที่  ท่าเทียบเรือตำมะลัง จังหวัดสตูล ซึ่งเป็นท่าเทียบเรือที่อยู่ติดกับศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนเฉลิมพระเกียรติเรียกได้ว่าเป็นทั้งท่าเทียบเรือ ศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลน  สถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกที่หนึ่งของตำบลตำมะลัง
       ท่าเทียบเรือตำมะลังกรมขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ( Tammalang Port Marine Department ) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ท่าเรือน้ำลึก ตั้งอยู่ในเขตตำบลตำมะลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ห่างจากตัวเมืองจังหวัดสตูลประมาณ 10 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ใต้สุดของทะเลอันดามัน ตำบลตำมะลังเดิมมีผู้คนอาศัยไม่กี่ครัวเรือนต่อมาได้มีชาวอินโดนีเซียเดินทางมาค้าขายโดยทางเรือได้แวะพักแรมบนเกาะและบังเอิญได้ไปพบนกอินทรีถูกผูกติดไว้กับต้นไม้ที่บนเกาะ ดังนั้นชาวอินโดนีเซียจึงเรียกเกาะดังกล่าว ตำมะลังซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ผูกอินทรี ต่อมาภายหลังเมื่อมีผู้คนอพยพมาอยู่อาศัยเพิ่มขึ้นจึงได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านและตำบลซึ่งใช้ชื่อว่า ตำบลตำมะลัง ท่าเทียบเรือแห่งนี้เป็นท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ จึงเป็นที่ที่เรือเฟอร์รี่รับส่งทั้งสินค้าและผู้โดยสารที่มาจากประเทศมาเลเซีย รวมทั้งเป็นที่ขึ้นเรือเพื่อไปท่องเที่ยวที่เกาะต่างๆ ท่าเทียบเรือแห่งนี้มีเขตติดต่อกับป่าชายเลนตลอดการเดินทางจะเห็นผืนป่าโกงกางอันสมบูรณ์มากจนกระทั่งถึงท่าเทียบเรือซึ่งสามารถเดินเข้าไปเยี่ยมชมป่าโกงกางนี้ได้ทั้งวิธีล่องเรือเข้าไปและเดินเท้ารวมไปถึงต้นไม้ที่ถูกปลูกไว้อย่างร่มรื่นหากไม่นับรวมถึงป่าโกงกางต้นไม้ที่มีเยอะอีกชนิดหนึ่งของท่าเทียบเรือตำมะลังนี้คือ ต้นปีบ ซึ่งออกดอกส่งกลิ่นหอมตลอดทั้งวัน ป่าชายเลนแห่งนี้อยู่ในความดูแลของอุทยานแห่งชาติทะเลบัน ท่าเทียบเรือนี้มีความร่มรื่น เงียบ สงบ ไม่มีผู้คนพลุกพล่าน นอกจากจะติดกับศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลนแล้ว ยังมีอาณาเขตติดต่อกับกรมศุลกากร, บ้านพักข้าราชการตำรวจน้ำ นอกจากจะอยู่ติดกับสถานที่ราชการมากมายแล้ว ฝั่งตรงข้ามยังมีเกาะต่างๆและเป็นจุดที่ชมพระอาทิตย์ตกได้สวยที่สุดในตำบลตำมะลัง หากผู้ใดโชคดีได้มาเที่ยวท่าเทียบเรือตำมะลังแล้วอาจจะได้เห็นการทำมาหากินที่น่าสนใจของชาวบ้านในละแวกนั้น  นั่นคือการงมหอยและจับปู ซึ่งจะต้องทำตอนเย็นช่วงที่น้ำลดจนเห็นเลนและรากของต้นโกงกางอย่างชัดเจน รวมไปถึงการได้เห็นเรือประมงของชาวบ้านแล่นผ่านไปมาอีกด้วย

        ความหมายของคำว่าบล็อก คือการบันทึกบทความของตนเองลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของบล็อกนั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่างๆ เช่น เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องการเมือง เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อกจะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเองใส่ลงไปในบทความนั้นๆ โดยบล็อกบางแห่งจะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกันบางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่น กลุ่มเพื่อนๆหรือครอบครัวตนเอง มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจผิดว่าบล็อกเป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้วไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือนเนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภทตั้งแต่การบันทึกเรื่องราวส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ตัวเองใช้ หรือซื้อมา อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่างๆอีกมากมายตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อกซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัดหรือสนใจเป็นต้น จุดเด่นที่สุดของบล็อกก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่งที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อกและผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกผ่านทางระบบการแสดงความคิดเห็นของบล็อก

5.  หลักการ ทฤษฏีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1  ความหมายของบล็อก
5.2  ประวัติความเป็นมาของท่าเทียบเรือตำมะลัง
5.3  ประโยชน์ของป่าชายเลน
5.4  วิธีการอนุรักษ์ป่าชายเลน
6.   วัตถุประสงค์ของโครงงาน
6.1.   เพื่อจัดทำบล็อกเรื่อง ท่าเทียบเรื่องตำมะลังแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน
6.2.   เพื่อเชิญชวนให้ผู้ที่สนใจไปเที่ยวชมท่าเทียบเรือตำมะลัง
6.3.   เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ
6.4.   เพื่อเปรียบเทียบและทำให้ผู้ที่สนใจได้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างท่าเทียบเรือตำมะลังและท่าเทียบเรือปากบาราของจังหวัดสตูล
7.  ขอบเขตของโครงงาน
7.1 
รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเทียบเรือตำมะลังซึ่งเกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยวที่ต้องการนำเสนอ
7.2    แหล่งค้นคว้าข้อมูลคือ อินเทอร์เน็ต และรวบรวมข้อมูลจากสถานที่จริง
7.3  ขั้นตอนการทำงานและระยะเวลาที่ดำเนินงาน
8.   เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
8.1      ใช้โปรแกรม Ulead VideoStudio 11 เพื่อใช้ในการตัดต่อวีดีโอ
8.2      ใช้โปรแกรม PhotoScape เพื่อตกแต่งภาพนิ่ง
8.3      ใช้ www.blogsport.com ในการสร้างบล็อกเพื่อนำเสนอผลงาน

9.   ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน

การดำเนินการ
วันที่/ระยะเวลาที่ดำเนินการ
ผู้รับผิดชอบ
กำหนดหัวข้อโครงงาน
20 พฤศจิกายน 55 – 25 พฤศจิกายน 55
อิทธิกร
เสนอโครงร่างโครงงาน
6 ธันวาคม 55 – 11 ธันวาคม 55
อิทธิกร
ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล
15 ธันวาคม 55 – 22 ธันวาคม 55
สุวณี
วิเคราะห์ข้อมูล
23 ธันวาคม 55 – 31 ธันวาคม 55
สิริภรณ์ 
ออกแบบเว็บไซต์
1 มกราคม 56 – 15 มกราคม 56
สุวณี
พัฒนาเว็บไซต์
16 มกราคม 56 – 6 กุมภาพันธ์ 56
สุวณี
ทดสอบและแก้ไขระบบ
16 มกราคม 56 – 6 กุมภาพันธ์ 56
สิริภรณ์ 
นำเสนอโครงงาน
6 กุมภาพันธ์ 56 – 12 กุมภาพันธ์ 56
อิทธิกร
ประเมินผลโครงงาน
6 กุมภาพันธ์ 56 – 12 กุมภาพันธ์ 56
สิริภรณ์ 

10.       ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ      
10.1  ทำให้ผู้ที่มาค้นคว้าข้อมูลได้รับประโยชน์จากบล็อกเรื่องท่าเทียบเรื่องตำมะลังแหล่งอนุรักษ์ป่าชายเลน
10.2  ทำให้มีผู้คนมาท่องเที่ยวที่ท่าเทียบเรือตำมะลัง
10.3  ทำให้ทุกคนเห็นค่าของธรรมชาติและชวนกันอนุรักษ์ป่าชายเลน
10.4  ทำให้ผู้ที่สนใจเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างท่าเทียบเรือตำมะลังและท่าเทียบเรือปากบารา

ลงชื่อ                                                                                                          ลงชื่อ                                                    
 (...................................................)                                                                  (                             )

                     ผู้จัดทำโครงงาน                                                                                   ครูที่ปรึกษา


ลงชื่อ                                                                                                          ลงชื่อ                                                    
 (...................................................)                                                                (                             )

                     ผู้จัดทำโครงงาน                                                                                  ครูที่ปรึกษา


ลงชื่อ                                                                    
(...................................................)
           ผู้จัดทำโครงงาน